ประวัติโรงเรียนเดิม



โรงเรียนชุมชนอาจสามารถ  (ชุณห์สวัสดิ์บำรุง)  ตั้งขึ้นครั้งแรกชื่อว่า  โรงเรียนประชาบาล  (วัดมงคลบุรีศักดาราม  :  อาศัยศาลาวัดเป็นสถานศึกษาเล่าเรียน)  โรงเรียนนี้จัดตั้งขึ้นเมื่อวัน  เดือน  ปีใดไม่ปรากฏหลักฐานแน่ชัด  โรงเรียนนี้ได้เปิดสอนชั้นประถมศึกษาปีที่  1  ถึงชั้นประถมศึกษาปีที่  4 พ.ศ.2480  ทางราชการแต่งตั้งให้  นายผดุงชัย  ไชยสวัสดิ์ วุฒิ ป.ม. ดำรงตำแหน่งครูใหญ่ ในปีนี้คณะกรรมการอำเภอเมืองนครพนมกำนันผู้ใหญ่บ้านราษฎร ตำบลอาจสามารถ  และคณะครูได้บริจาคเงิน  2500  บาท  (สองพันห้าร้อยบาทถ้วน)บริจาคต้นไม้และแรงงานสมทบสร้างอาคารเอกเทศถาวรขึ้นใหม่ตามแบบ ป.1 ขนาด 3 ห้องเรียน กว้าง  9 เมตร ยาว  27  เมตร  ในที่ดินริมถนนสายนครพนม-ท่าอุเทน  ด้านตะวันตกในหมู่ที่  6  บ้านอาจสามารถ  ที่ดินแปลงนี้มีผู้บริจาคให้แก่ทางราชการ เพื่อเป็นที่ปลูกสร้างโรงเรียน  คือ

 1.นายบุดตา  ซ้ายกลาง
 2.นายพับ  สาระชัย
 3.นายโกก  ราชลัย                           
 4.นายผดุงชัย  ไชยสวัสดิ์
5.นายบุญมา  บุญอาจ

เขตที่ดิน

ทิศเหนือ  ยาว  200  เมตร  ติดกับที่ดินนายพับ  สาระชัย  นายโกก  ราชลัย
ทิศใต้   ยาว  200  เมตร  ติดกับทางไปบ้านไผ่ล้อม
ทิศตะวันออก  ยาว 120  เมตร  ติดกับถนนสายนครพนม-ท่าอุเทน
ทิศตะวันตก  ยาว  120 เมตร
รวมที่ดินแปลงนี้  15 ไร่

          ในระหว่างนายผดุงชัย  ไชยสวัสดิ์  ดำรงตำแหน่งครูใหญ่  ได้มีการพัฒนากิจกรรมของโรงเรียนดังต่อไปนี้
          31  กรกฎาคม  2480  ได้ย้ายจากศาลาวัดมงคลบุรีศักดาราม  มาเรียนในอาคารหลังใหม่  และได้เปลี่ยนชื่อเป็นโรงเรียนประชาบาล  ตำบลอาจสามารถ  (ชุณห์สวัสดิ์บำรุง)
พ.ศ.  2485  นายผดุงชัย  ไชยสวัสดิ์  ย้ายไปดำรงตำแหน่งครูใหญ่โรงเรียนอื่น  ทางราชการได้แต่งตั้ง  นายณรงค์  สิทธิรัตน์  ณ  นครพนม  มาแทน
          พ.ศ.2485  นายณรงค์  สิทธิรัตน์  ณ  นครพนม  ได้ย้ายไปดำรงตำแหน่งครูใหญ่โรงเรียนอื่น  ทางราชการแต่งตั้งให้นายเที่ยง  ฉายเรือง  วุฒิ  ป.  มาดำรงตำแหน่งแทน
          พ.ศ.2485  นายเที่ยง  ฉายเรือง  ย้าย  ทางราชการได้แต่งตั้งให้นาย  ปาน  ทักษิณ  มาดำรงตำแหน่ง
          พ.ศ.2490  นายปาน  ทักษิณ  ย้าย  ทางราชการแต่งตั้งให้นายคำนึก  อุดมบุญญาลักษณ์  วุฒิพ.บ.มาดำรงตำแหน่งครูใหญ่แทน
          พ.ศ.2491  นายคำนึก  อุดมบุญญาลักษณ์  ย้าย  ทางราชการได้แต่งตั้งให้นายมีชัย  ศัรษะนา  มาดำรงตำแหน่งครูใหญ่แทน
          พ.ศ.2501  นายมีชัย  ศีรษะนา  ย้าย  ทางราชการได้แต่งตั้งให้  นายร่าเริง  รักษาวงษ์  วุฒิ  พ.บ.มาดำรงตำแหน่งครูใหญ่แทน
ในระหว่าง  นายร่าเริง  รักษาวงษ์  ดำรงตำแหน่งครูใหญ่  โรงเรียนมีการพัฒนาดังนี้  พ.ศ. 2505
          1. ได้ทดลองเปิดเป็นโรงเรียนชุมชนอาจสามารถ ของภาคการศึกษา  10 อุบลราชธานี
กรมสามัญศึกษา  กระทรวงศึกษาธิการ
          2.  ปลูกสร้างหอประชุม  1  หลัง  ขนาดกว้าง  8  เมตร  ยาว  18  เมตร  ราคาประมาณ  50,000  บาท(ห้าหมื่นบาทถ้วน)  ด้วยความร่วมมือของกำนัน  ผู้ใหญ่บ้าน  ราษฎร  และคณะครูในตำบลนี้  บริจาควัสดุอุปกรณ์  และแรงงานในการปลูกสร้าง
          พ.ศ. 2508 ได้ปลูกสร้างอาคารเรียน  1  หลัง  ขนาด  3  ห้องเรียน  กว้าง  8  เมตร
ยาว  27  เมตร  หลังคามุงแฝก  คิดค่าปลูกสร้างประมาณ  70,000  บาท  (เจ็ดหมื่นบาทถ้วน)
          พ.ศ. 2510  รื้ออาคารเรียนที่ปลูกสร้างเมื่อ  พ.ศ. 2508  นำตัวไม้มาต่อเติมหอประชุมให้ยาวอีก  18  เมตร  ทำให้หอประชุมมีขนาด  8 x 36  เมตร  และได้ตีฝาเพิ่มเติมจนเสร็จ  ยกเวทีกว้าง  8  เมตร  ยาม  9  เมตร  สูง  1  เมตร  จากเงินสภาตำบล 10,000  บาท  (หนึ่งหมื่นบาทถ้วน)  และเงินพัฒนาชุมชน  25,000  บาท  (สองหมื่นห้าพันบาท)
          พ.ศ. 2512  ได้รับงบประมาณสร้างอาคารเรียน  1  หลัง  ตามแบบ  ป.1 ซ.  ขนาด  3  ห้องเรียน  กว้าง  9  เมตร  ยาว  27  เมตร
          พ.ศ.  2513 สร้างส้วม  5  ที่นั่ง  และมีส้วมปัสสาวะชายด้วย  ขนาดกว้าง  2.75  เมตร  ยาว  8.60  เมตร  จากเงินงบประมาณ  14,000  บาท  (หนึ่งหมื่นสี่พันบาท)
          พ.ศ. 2514  ขุดบ่อน้ำบาดาล  1  บ่อ  ลึก  100  ฟุต  จากกรมทรัพยากรธรณี  เป็นเงิน  7,000  บาท  (เจ็ดพันบาทถ้วน)
          พ.ศ. 2515  สร้างถังเก็บน้ำบาดาล  2  ถัง  จากงบประมาณของอนามัย  อำเภอเมืองนครพนม  ค่าวัสดุ  อุปกรณ์ 16,000  บาท  (หนึ่งหมื่นหกพันบาทถ้วน)  แรงงานจากราษฎร  หมู่ที่  5,6  บ้านอาจสามารถ        
          พ.ศ. 2516  สร้างส้วม  5  ที่นั่งจากเงินงบประมาณ  8,000  บาท  (แปดพันบาทถ้วน)  มีวัสดุ  อุปกรณ์จากฐานบินนครพนม  และแรงงานจากราษฎรสมทบเพิ่มเติมอีก  คิดเป็นเงินค่าปลูกสร้างประมาณ  10,000  บาท  (หนึ่งหมื่นบาทถ้วน) สร้างโรงฝึกหนึ่งหลัง ขนาดกว้าง 9 เมตร ยาว  18  เมตร จากเงินงบประมาณ 45,000 บาท (สี่หมื่นห้าพันบาทถ้วน)
          (1)  สร้างอาคารเรียน  แบบ ป.1 ฉ.  ขนาด  4  ห้องเรียน  กว้าง  9  เมตรยาว  36  เมตร
พื้นสูงจากระดับดิน 2  เมตร  มีอุปกรณ์โต๊ะเรียน  ม้านั่ง  โต๊ะครู  และตู้เก็บอุปกรณ์การสอน ครบ
จากเงินงบประมาณ  180,000  บาท  (หนึ่งแสนแปดหมื่นบาทถ้วน)
          (2)  ต่อเติมหอประชุม  คือจัดทำประตู  ช่องระบายลม  ตีเพดาน  ก่ออิฐฐานล่างของอาคาร  และเทพื้นคอนกรีต  เสร็จเรียบร้อยจากเงินผันของรัฐบาล  เป็นเงิน  170,000  บาท  (หนึ่งแสนเจ็ดหมื่นบาทถ้วน)
          พ.ศ. 2519  นายร่าเริง  รักษาวงษ์  ย้าย  นายชาญชัย  เวชกูล  ย้ายมาดำรงตำแหน่งครูใหญ่แทน  เมื่อรับงานแล้ว  ปรับปรุงงานต่าง ๆ  คือ
          1. แก้ปัญหาเด็กขาดเรียนให้ลดลง
          2. จัดงานธุรการ  ทะเบียน  บัญชีต่าง ๆ  ให้เรียบร้อยเป็นปัจจุบัน
          3. ปรับปรุงอาคารสถานที่  และจัดครูเข้าสอนให้เหมาะสม
          4. ติดตั้งมิเตอร์ไฟฟ้า  10  แอมป์  ค่าอุปกรณ์ติดตั้ง  ครูทุกคนช่วยบริจาค  เป็นเงินจำนวน  650  บาท  (หกร้อยห้าสิบบาทถ้วน)
          วันที่  9  ธันวาคม  2519  เป็นเจ้าภาพจัดงานแข่งขันกีฬาประจำปีของอำเภอครั้งที่  2
          วันที่  8  พฤษภาคม  2520  ขุดบ่อน้ำในโรงเรียน  2  บ่อ  ขนาดกว้าง  1.20  เมตร  ลึก  12  เมตร  ปรุด้วยท่อคอนกรีตจากโครงการของสภาตำบล  ราษฎรบ้านอาจสามารถ  บ้านท่าควาย  บริจาคเงินสมทบ  2,600  บาท  (สองพันหกร้อยบาทถ้วน)
          วันที่  7  กันยายน  2520  ซื้อเครื่องอัดสำเนา  1  เครื่อง  ราคา  7,000  บาท  (เจ็ดพันบาทถ้วน)  ครูและกรรมการศึกษาสมทบจำนวนเงิน  3,500  บาท  (สามพันห้าร้อยบาทถ้วน)
พ.ศ. 2521  สร้างบ้านพักครู  1  หลัง  ขนาด  3 x 9  เมตร  งบประมาณ  60,000  บาท (หกหมื่นบาทถ้วน)  สร้างเสร็จเมื่อวันที่  25  กุมภาพันธ์  2521
          วันที่  24  มกราคม  2522  นายชาญชัย  เวชกูล  ครูใหญ่ได้ขอหม้อกรองน้ำประปาบาดาล  จากกรมทรัพยากรธรณีวิทยาจังหวัดขอนแก่น  1  ชุด  คิดเป็นเงิน  5,000  บาท  (ห้าพันบาทถ้วน)
          วันที่  30  กันยายน  2522  ได้รับงบประมาณโรงเรียนชุมชน  5,000  บาท  (ห้าพันบาทถ้วน)  จัดสร้างซุ้มประตูคอนกรีตเสริมเหล็กด้านหน้าโรงเรียนทั้ง  2  ข้าง  และบานประตูเลื่อน  2  บาน  กว้าง  1.45  เมตร  ยาว  8  เมตร  เนื่องจากงบประมาณไม่พอ  นายชาญชัย  เวชกูล  ครูใหญ่ได้บริจาคเพิ่มอีกเป็นเงิน  1,000  บาท  (หนึ่งพันบาทถ้วน)  ส่วนค่าแรงงานครูใหญ่
          ชาญชัย  เวชกูล  และนักเรียนรวมทั้งภารโรง  เป็นผู้จัดทำ  คิดค่า  แรง  500  บาท  (ห้าร้อยบาทถ้วน)  เป็นค่าก่อสร้างทั้งหมด  6,500  บาท  (หกพันห้าร้อยบาทถ้วน)
            เมื่อวันที่  16 มีนาคม  2522 ต่อเติมอาคารอำนวยการด้านหลัง  ขนาด  3.50  เมตร
ยาว  9  เมตร  เพื่อใช้เป็นห้องพยาบาล  เก็บวัสดุอุปกรณ์  การต่อเติมครั้งนี้มีผู้บริจาคสมทบวัสดุอุปกรณ์และแรงงาน  ดังนี้
                1.  งบประมาณโรงเรียนชุมชนอาจสามารถ  2,829  บาท
                2.  นายชาญชัย  เวชกูล  ครูใหญ่ให้เป็นวัสดุอุปกรณ์  คิดเป็นเงิน  300  บาท
                3.  นักเรียนที่จบ  ป.6 , ป.7  ปีการศึกษา  2520  บริจาค  360  บาท
                4.  ผจก.โรงเลื่อยจักรนครเจริญ  บริจาคตัวไม้เป็นเงิน  10,144  บาท
                5.  เงินโรงเรียนจัดหาซื้อเครื่องเหล็ก  และวัสดุอุปกรณ์อื่น ๆ  เป็นเงิน  367  บาท
                6.  แรงงานครูชาย  5  คน  นักการภารโรง  1  คน  ประมาณ  2,700  บาท  คิดเป็นค่าก่อสร้างต่อเติมทั้งหมด 16,700  บาท  เสร็จเรียบร้อยเมื่อวันที่  16
ได้รับงบประมาณจากทางราชการ สร้างโรงฝึกงานขนาดกว้าง  7.50  เมตร  ยาว  17  เมตร
เสร็จเรียบร้อยเมื่อวันที่  26  มีนาคม  2522
          วันที่  5  กรกฎาคม  2523  จัดฉายภาพยนตร์หาเงินสร้างรั้วได้เงินสุทธิ  13,015  บาท
          วันที่  30  กันยายน  2523  ได้งบประมาณโรงเรียนชุมชนอาจสามารถ  7,200  บาท
สมทบสร้างรั้วคอนกรีตหน้าโรงเรียน
พ.ศ. 2524 – 2525
          1.  จัดสร้างรั้วคอนกรีตเสริมเหล็กขนาดสูง  1.45 เมตร  ยาว  3  เส้น 2 วา ใช้งบประมาณของโรงเรียนชุมชนอาจสามารถ  ปี  2523  เงินครู  นักศึกษาใหญ่และกรรมการศึกษา  จัดหาซื้อวัสดุอุปกรณ์เป็นเงิน  19,982  บาท  แรงงานครู  นักการภารโรง  จัดทำเป็นเงิน  3,000  บาท  รวมค่าใช้จ่ายทั้งสิ้น  22,982  บาท  (สองหมื่นสองพันเก้าร้อยแปดสิบสองบาทถ้วน)  เริ่มสร้างตั้งแต่  1  มิถุนายน  2524  ถึง  24  มีนาคม  2525  งานก่อสร้างเสร็จไปแล้ว  70%  ยังเหล็กดัดจะใส่ข้างบน 44  ช่อง
          2.  สร้างสระน้ำคอนกรีต  ทางเดินสวนบริเวณเสาธงชาติ  หน้าอาคารอำนวยการ เป็นเงิน  1,432  บาท  เริ่มทำ  24  มีนาคม  2525  ถึง  1  กันยายน  2525+
          วันที่  1  กุมภาพันธ์  2526  นายชาญชัย  เวชกูล  ได้ลาออกจากราชการ  นายสงคราม 
กีกาศ  ผู้ช่วยครูใหญ่รักษาการในตำแหน่งครูใหญ่มาจนถึงวันที่  1  สิงหาคม  2526  จึงได้รับคำสั่งแต่งตั้งให้เป็นครูใหญ่โรงเรียนนี้ต่อไป
         วันที่  1  พฤษภาคม  2526 – 1  สิงหาคม  2526  จัดทำเหล็กดัดใส่รั้วด้านบน  44  ช่อง  เป็นเงิน  10,500  บาท  โดยไม่ใช้งบประมาณจากทางราชการ
            วันที่  26  มิถุนายน  2528  นายสงคราม  กีกาศ  ได้ลาออกจากราชการ  นางสมโภช  เวชกูล  รักษาการในตำแหน่งครูใหญ่แทนจนถึงวันที่  24  เมษายน  2529  นายประจวบ  หนุ่มชัยภูมิ  ได้มารับตำแหน่งอาจารย์ใหญ่โรงเรียนชุมชนอาจสามารถ  ตามคำสั่งที่  ศธ. 1426.01 / 837  ลงวันที่  19  มีนาคม  2529  ได้จัดการศึกษาดังนี้
          1.  ครูมีทั้งหมด  14  คน  ชาย  2  คน  หญิง  12  คน
          2.  นักเรียนทั้งหมด  196  คน  ชาย  92  คน  หญิง  104  คน
          3.  นักการภารโรง  1  คน
          4.  จัดการเรียนการสอนตั้งแต่ชั้น  อนุบาล ป.6
          5.  เมื่อวันที่  23  กันยายน  2529  ได้รับเครื่องขยายเสียงจากนายสุริยันต์  พลหาราช  มอบ ให้แก่โรงเรียนในราคา 12,500  บาท
          6.  เมื่อวันที่  4  กันยายน  2529  ได้รับรถตัดหญ้ายี่ห้อยามาฮาสีฟ้า  ราคา  4,800  บาท 
จากนางพูนศรี  ละม้ายศรี  และนาสาวอุไรวรรณ  คำลี

ในปีการศึกษา  2531  ได้จัดชั้นเรียนดังนี้

ชั้นประถมศึกษาปี่ที่  1      นางพูนศรี            ละม้ายศรี        มีนักเรียน  20  คน
ชั้นประถมศึกษาปีที่  2      นางเสาวภา          อินทระชัย       มีนักเรียน  22  คน
ชั้นประถมศึกษาปีที่  3      นางบุญยิ่ง           อ่อนครบุรี        มีนักเรียน  20  คน
ชั้นประถมศึกษาปีที่  4      นางกิ่งแก้ว          ดวงสงค์          มีนักเรียน  29  คน
ชั้นประถมศึกษาปีที่  5      นางวิไลภรณ์        รอบรู้             มีนักเรียน  26  คน
ชั้นประถมศึกษาปีที่  6      นางสาวอุไรวรรณ  คำลี               มีนักเรียน  34  คน

          จากการสอนเป็นประจำชั้น  มีนักเรียนทั้งหมด  ชาย  79  คน  หญิง  72  คน  รวม  151  คน  มีครูทั้งหมด  14  คน  ชาย  2  คน  หญิง  12  คน  ไปช่วยราชการที่โรงเรียนอนุบาล  2  คน  (หญิง)  ไปช่วยราชการที่สปอ.  หญิง  1  คน  ไปช่วยราชการที่  สปจ.  ชาย 1 คน  มาช่วยราชการจาก  สปอ.หนองคาย  หญิง  1  คน มาปฏิบัติราชการที่โรงเรียนเป็นประจำ  11  คน
ปีการศึกษา  2532  ได้จัดชั้นเรียนดังนี้
          ชั้นประถมศึกษาปี่ที่  1      นางพูนศรี          ละม้ายศรี        มีนักเรียน  24  คน
ชั้นประถมศึกษาปีที่  2      นางสาววันเพ็ญ   ปานสูง           มีนักเรียน  17  คน
ชั้นประถมศึกษาปีที่  3       นางบุญยิ่ง         อ่อนครบุรี       มีนักเรียน  23  คน
ชั้นประถมศึกษาปีที่  4      นางกิ่งแก้ว         ดวงสงค์         มีนักเรียน  20  คน
ชั้นประถมศึกษาปีที่  5       นางเสาวภา       อินทระชัย       มีนักเรียน  31  คน
ชั้นประถมศึกษาปีที่  6      น.ส.อุไรวรรณ     คำลี              มีนักเรียน  25  คน

จัดการสอนเป็นประจำชั้น  มีนักเรียนทั้งหมด  141  คน  มีนักเรียนชาย  68  คน  นักเรียนหญิง  73  คน  มีครูทั้งหมด  12  คน  ชาย  2  คน  หญิง  10  คน  ไปช่วยราชการที่  สปจ.  มุกดาหาร  หญิง  1  คน  ไปช่วยราชการที่  สปจ.  นครพนม  หญิง  1  คน  ไปช่วยราชการที่โรงเรียนอนุบาล  หญิง  1  คนนายสุริยนต์  พลหาราช  สอนงานเกษตร  พลศึกษา  ชั้น  ป.5  , ป.6  และเป็นเจ้าหน้าที่พัสดุ   นางกรองทอง  มรกต  สอนศิลปะ  ชั้น  ป.5 – 6  อนุ ลูกเสือ  และเจ้าหน้าที่ธุรการ  การเงิน
            ในปีการศึกษา  2534  ได้จัดเตรียมห้องสมุดโรงเรียนเพื่อส่งเสริมเข้าประกวด  ห้องสมุดดีเด่นของจังหวัด  ส่วนโรงเรียนดีเด่นนั้นได้เรียบร้อยแล้ว  และในปีนี้เช่นกัน  ได้จัดสวนพริกไทยอย่างจริงจังและคาดว่าจะได้ผล  100%  มีประโยชน์ต่อรายได้ของโรงเรียนเป็นอย่างมาก
          ในปีการศึกษา  2535  ได้รับการสนับสนุนประตูฟุตบอลชนิดเหล็ก  ราคา  6,000  บาท
จากนายอดิพงษ์  สุวัฒน์ศรีสกุล ได้รับโครงการอาหารกลางวัน  เพื่อเลี้ยงวัว  1  ตัว  ราคา  5,000  บาท  ได้ปลูกไม้สักทองจำนวน  100  ต้น
ในปีการศึกษา  2537  นี้  มีกิจกรรมที่ควรบันทึก  คือ  วันศุกร์ที่  10  พฤศจิกายน  2537  อาจารย์ใหญ่  คณะครู  และนักการภารโรง  ได้บริจาคเงินสร้างส้วม  2  ที่นั่ง  เป็นเงิน  6,500  บาท  (หกพันห้าร้อยบาทถ้วน)
ในปีการศึกษา  2538  นี้มีกิจกรรมที่ควรบันทึกไว้  คือ
วันศุกร์ที่  24  กุมภาพันธ์  2538  หัวหน้าการประถมศึกษา  อำเภอเมืองนครพนม  นางสวาท  อุดมเดชเวทย์  กรรมการกลุ่มและคณะกรรมการศึกษา  ได้มาเป็นเกียรติเพื่อรับมอบวงดุริยางค์  ครั้งที่  1  เป็นเงิน  18,000  บาท  (หนึ่งหมื่นแปดพันบาทถ้าน)  จากพระครูมงคลสารคูณ  เจ้าคณะตำบลอาจสามารถ  เจ้าอาวาสวัดมงคลบุรีศักดาราม  (หลวงพ่อนิคม  จรณธมฺโม)
วันอังคารที่  1  มิถุนายน  2538  คณะครูได้บริจาคเงินซื้อพัดลมติดเพดาน  จำนวน  2  ตัว  ติดตั้งที่ห้อง  ป.3  และ  ป.5
วันจันทร์ที่  19 มิถุนายน  2538  โรงเรียนชุมชนอาจสามารถได้ติดตั้งประปาโรงเรียน  โดยได้รับความอนุเคราะห์จาก
                1.  นางเสาวภา  ซ้ายกลาง  จำนวนเงิน  1,860  บาท
                2.  นายบุญวัง  ใสส่อง  จำนวนเงิน  1,860  บาท
                3.  คณะครูโรงเรียนชุมชนอาจสามารถ  จำนวนเงิน  1,860  บาท  ได้ขยายประปาไปทุกอาคารเรียน  บ้านพักครู  และห้องน้ำห้องส้วม

            วันจันทร์ที่  7  สิงหาคม  2538  ได้รับเครื่องดนตรีวงดุริยางค์เมโลเดี้ยน  จำนวน  5  ตัว  จาก
1.  อาจารย์กิ่งแก้ว  ดวงสงค์          1  ตัว
2.  อาจารย์พูนศรี  ละม้ายศรี          1  ตัว
3.  อาจารย์สุริยนต์  พลหาราช        1  ตัว

ปีการศึกษา  2539  มีกิจกรรมที่ควรบันทึกไว้  คือ ในเดือนกุมภาพันธ์ มีนาคม  2539  อาจารย์ใหญ่  คณะครู  และนัการภารโรง  ได้สร้างโรงเก็บรถ  เพื่อมอบให้โรงเรียน  เป็นจำนวนเงิน  7,500  บาท  (เจ็ดพันห้าร้อยบาทถ้วน)
วันอังคารที่  30  กันยายน  2540  วันนี้  นายประจวบ  หนุ่มชัยภูมิ  อาจารย์ใหญ่  ได้เกษียณอายุราชการ  และได้ประชุมครูในโรงเรียน  เพื่อมอบงานในหน้าที่ผู้บริหารให้  อาจารย์พูนศรี  ละม้ายศรี  รักษาการแทน  จนกว่าจะมีตำแหน่งอาจารย์ใหญ่ใหม่มา
วันศุกร์ที่  10  ตุลาคม  2540  วันนี้ทางราชการได้แต่งตั้งให้นายชะเอม  คำหา  มาดำรงตำแหน่งอาจารย์  โดยเป็นคำสั่งย้ายมาดำรงตำแหน่ง ของ  สปจ.  นครพนม

วันที่  16  พฤษภาคม  พ.ศ.2547 เปิดทำการเรียนการสอนใหม่วันแรก  คณะครูปฏิบัติงานที่โรงเรียน  6  คน  ครูผู้ช่วย  5  คน  นักการฯ  1  คน  นักเรียนมาเรียนทั้งหมด  96  คน  แยกตามชั้นเรียนดังนี้

ชั้นอนุบาล  1                ชาย     1   คน   หญิง    -   คน    รวม     1     คน
ชั้นอนุบาล  2                ชาย     3   คน   หญิง    2   คน    รวม     5     คน
ชั้นประถมศึกษาปีที่  1     ชาย     3   คน   หญิง    4   คน    รวม     7     คน
ชั้นประถมศึกษาปีที่  2     ชาย     5   คน   หญิง    3   คน    รวม     8     คน
ชั้นประถมศึกษาปีที่  3     ชาย     3   คน   หญิง    5   คน    รวม     8     คน
ชั้นประถมศึกษาปีที่  4     ชาย   34   คน   หญิง  11   คน    รวม    45    คน
ชั้นประถมศึกษาปีที่  5     ชาย     7   คน   หญิง    7   คน    รวม      8    คน
ชั้นประถมศึกษาปีที่  6     ชาย     8   คน   หญิง    6   คน    รวม    14    คน
                                                                                  รวมทั้งสิ้น  =  96  คน

          วันที่  29  มิถุนายน  พ.ศ.2548   นายวันไสว  ปาระมี  ได้รับคำสั่งแต่งตั้ง (ย้าย) ข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา  ตามคำสั่งสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษานครพนม เขต 1  ที่ 280/2548  ให้ข้าพเจ้าไปดำรงตำแหน่งใหม่ที่โรงเรียนบ้านวังยาง  อำเภอปลาปาก  สพท.นครพนม เขต  1                   ได้มอบหมายงานไวให้กับคณะครู  โดยมีนางสาวศศิธร  พุทธี  นางอารีรัช  บุตรปาระ  นางกรรณิการ์  สิทธิกานต์  ตามรายละเอียดตามเอกสารมอบหมายงาน  โดยมีนางสาวอุไรวรรณ  คำลี  เป็นผู้รับก่อในวันพรุ่งนี้ (30 มิ.ย. 48)

          วันที่  1  กรกฎาคม  พ.ศ.2548   วันนี้ข้าพเจ้านายมนัส  นุรา  ตำแหน่งผู้อำนวยการสถานศึกษาได้รับมารับหน้าที่ในตำแหน่งเดิมที่โรงเรียนแห่งนี้เป็นวันแรกตามคำสั่งสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษานครพนม  เขต  1  ที่  280/2548  ครูประจำการมาปฎิบัติหน้าที่  6  คน  นักการฯ 1  คน  นักเรียน  94  คน  ครูผู้ช่วย  5  คน  ได้ปฎิบัติหน้าที่ตามที่ได้รับมอบหมายไปตามปกติ

          วันที่  1  มิถุนายน  พ.ศ.2549  วันนี้ นายปริญญา  พรหมมา  ได้เดินทางมารับตำแหน่ง  ผุ้อำนวยการฯที่โรงเรียนนี้เป็นวันแรก  ตามคำสั่ง  สพท.นพ 1 ที่         /2549  ลว.  ครูููประจำการ  4  คน  ได้แก่  นางกรรณิการ์  สิทธิกานต์  นางสาวศศิธร  พุทธี  นางสาวอุไรวรรณ   คำลี   นางปัญจา  ตรงดี  ครูมาช่วยราชการ  2  คน  คือ นางเสาวลักษณ์  เหลืองบุตรนาค  นางอารีรัช  บุตรปาระ  ไปช่วยราชการที่ สพท.นพ. 1  1  คน  คือ  นางพัชนี  ประทังคติ  มีนักเรียน  จำนวนทั้งสิน  1074  คน  แยกเป็น

          ชั้นอนุบาล                    ชาย      2   คน   หญิง     1   คน    รวม       3    คน
ชั้นประถมศึกษาปีที่  1     ชาย      3   คน   หญิง     2   คน    รวม       5    คน
ชั้นประถมศึกษาปีที่  2     ชาย      4   คน   หญิง     6   คน    รวม     10    คน
ชั้นประถมศึกษาปีที่  3     ชาย      4   คน   หญิง     3   คน    รวม       7    คน
ชั้นประถมศึกษาปีที่  4     ชาย    22   คน   หญิง     9   คน    รวม      31    คน
ชั้นประถมศึกษาปีที่  5     ชาย    30   คน   หญิง    12   คน   รวม      42    คน
ชั้นประถมศึกษาปีที่  6     ชาย      2   คน   หญิง     7   คน   รวม        9     คน
                                                                        รวมทั้งสิ้น  =  107    คน
ส่วนครูกีฬา (อบจ.นพ) ได้แก่

นายภูมินันท์  ครโสภา        ครูกีฬา       มวยไทย
นายธนากร  กิติธรรม          ครูกีฬา      ฟุตบอล
นายเกียรติศักดิ์  บริจันทร์    ครูกีฬา       กรีฑา
นายวรชิต  ชาแท่น            ครูกีฬา       วอลเลย์บอล
นายศิริคง  หล้าเพ็ง           ครูกีฬา       ตะกร้อ
นางรัตติยากร  ยอดมณี       ครูกีฬา       แบดมินตัน

          วัน  16  พฤศจิกายน พ.ศ.2551    นายปริญญา  พรหมมา  ผู้อำนวยการโรงเรียน ได้เดินทางไปรับตำแหน่งผู้อำการโรงเรียนบ้านกล้วย  สพท.นพ 1  ตามคำสั่ง สพท.นพ.1 ที่ 827/2551  ลงวันที่  14  พฤศจิกายน  พ.ศ.2551  เรื่อง  แต่งตั้ง(ย้าย)ข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา
ทั้งนี้  ได้มอบหมายงานในหน้าที่  อันประกอบด้วย  งานวิชาการ  งานบริหารทั่วไป  งานงบประมาณ  และงานบุคลากร  ให้ผู้รักษาการ  ผอ.ร.ร. (นางอุไรวรรณ  คำลี)
          วันที่  27  พฤศจิกายน  พ.ศ.2551 นายสุราติ  นนทะแสน  ตำแหน่งผู้อำนวยการโรงเรียนชุมชนอาจสามารถ  ได้รับมอบหมายงานจากนางสาวอุไรวรรณ  คำลี  ตำแหน่งครูดรงเรียนชุมชนอาจสามารถ รักษาการในตำแหน่งผู้อำนวยการโรงเรียนชุมชนอาจสามารถ  ครูโรงเรียนชุมชนอาจสามารถ  จำนวน  6  คน  ครูอัตราจ้าง  6  คน  นักเรียน 105  คน
          วันที่  1 มิถุนายน พ.ศ. 2553  นายสุรชาติ  นนทะแสน  ตำแหน่งผุ้อำนวยการโรงเรียนชุมชนอาจสามารถ  ได้รับคำสั่งย้าย  ตามคำสั่งสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษานครพนม  เขต  1 ที่ 615/2553  สั่ง  ร  วันที่  28  มิถุนายน  พ.ศ.2553  ไปดำรงตำแหน่งที่โรงเรียนบ้านขามเฒ่า  ต.ขามเฒ่า  และได้มอบหมายงานให้นางสาวศศิธร  พุทธี  ตำแหน่งครู  วิทยฐานะ  ชำนาญการ  โรงเรียนชุมชนอาจสามารถ  รักษาการในตำแหน่งผุ้อำนวยการโรงเรียนชุมชนอาจสามารถ
          วันที่ 1 สิงหาคม 2554 นายสามารถ  วังคะฮาด ได้รับคำสั่งให้มารับตำแหน่งผู้อำนวยการโรงเรียนชุมชนอาจสามารถ สังกัดองค์การบริหารส่วนจังหวัดนครพนม ภายต้การนำของ ดร.สมชอบ  นิติพจน์ นายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดนครพนม ได้ประชุมกำหนดนโยบายในการทำงานให้ครู โดยเฉพาะการจัดการเรียนการสอน เสนอแนวคิด มุ่งเน้นความเป็นเลิศทางการกีฬา และเรียนเสริมเรื่อง ภาษา ไอที ดนตรีและการแสดง

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น