วันอาทิตย์ที่ 7 กันยายน พ.ศ. 2557

ประเพณีไหลเรือไฟ



           ประเพณีไหลเรือไฟเป็นประเพณีที่ชาวนครพนมภาคภูมิใจ เพราะบรรพบุรุษ ได้ยึดถือปฏิบัติกันมานานตั้งแต่โบราณ โดยมีความเชื่อในประเพณีว่าเนื่องมาจากการบูชารอย พระพุทธบาทการสักการะท้าวพกาพรหม การบวงสรวจพระธาตุจุฬามณี และการระลึกถึงพระคุณของพระแม่คงคาการขอฝน การเอาไฟเผาความทุกข์ และการบูชาพระพุทธเจ้า
           ประเพณีการไหลเรือไฟบางที่เรียกว่า " ล่องเรือไฟ " " ลอยเรือไฟ " หรือ "ปล่อยเรือไฟ" ซึ่งเป็นลักษณะที่เรือไฟเคลื่อนที่ไปเรื่อยๆ เรือไฟหรือเฮือไฟ หมายถึง เรือที่ทำด้วยท่อนกล้วย ไม้ไผ่หรือวัสดุที่ลอยน้ำ มีโครงสร้างเป็นรูปต่างๆ ตามต้องการ เมื่อจุดไฟใส่โครงสร้าง เปลวไฟจะลุกเป็นรูปร่างตามโครงสร้างนั้น งานประเพณีไหลเรือไฟ นิยมปฏิบัติกันในเทศกาล ออกพรรษาในวันขึ้น ๑๕ ค่ำ เดือน ๑๑ หรือวันแรม ๑ ค่ำ เดือน ๑๑ ในด้านความเชื่อเกี่ยวกับการบูชารอยพระพุทธบาท ที่ประทับไว้ริมฝั่งแม่น้ำนัมมทานที ในแคว้นทักษิณาบท ประเทศอินเดียนั้นเชื่อว่า ในครั้งที่พญานาคได้ทูลอาราธนาพระพุทธเจ้าไปแสดงธรรมในพิภพของนาค เมื่อเสด็จกลับพญานาคได้ทูลขอให้พระองค์ ประทับรอยพระบามไว้ ณ ริมฝั่งแม่น้ำนัมมทานที พระองค์จึงได้ประทับรอยพระบาทไว้ตามความประสงค์ของพญานาค รอยพระบาทที่ทรงประทับไว้นี้เป็นที่เคารพ ของเทวดามนุษย์ตลอดจนถึงสัตว์ทั้งหลาย ผู้ซึ่งต้องการบุญกุศล เหตุนี้การไหลเรือไฟ จึงถือว่าเพื่อบูชารอยพระพุทธบาทซึ่งมีคำบูชาว่า " อะหัง อินิมา ปะทีเปนะ นัมมากายะ นะทิยา ปุเลนิ ปาทะวะอัญชัง อภิปูเชมิ อะยัง ปะทีเปนะ มุนิโน ปาทะวะอัญชัง ปูชา มัยหัง ทีฆรัตตัง หิ ตายะ สุขายะ สังวัตคุะตุ " แปลว่า ข้าพเจ้าขอน้อมบูชารอยพระบาทของพระมุนีเจ้า อันประดิษฐานอยู่ ณ หาดทรายแห่ง แม่น้ำนัมมทานทีโพ้นด้วยประทีปนี้ ขอให้การบูชารอยพระบาทสมเด็จพระมุนีเจ้าด้วยประทีป ในครั้งนี้จงเป็นไปเพื่อประโยชน์ เพื่อความสุขแก่ข้าพเจ้า ทั้งหลายตลอดกาลนานเทอญ
รูปลักษณะของเรือไฟ รูปทรงเรือไฟ รูปเรือไฟจะมีการทำที่แตกต่างกันออกไปตามความคิด ความเชื่อ ความรู้ ความสามารถของช่างในแต่ละกลุ่ม โดยมีรูปทรงดังนี้ รูปสิงห์ รูปเรือสุพรรณหงส์ รูปมังกร รูปพญานาค รูปม้าเทียมราชรถ รูปพญาครุฑ รูปช้าง รูปแม่ย่านาง การประดับตกแต่งเรือไฟภายในเรือไฟจะประดับด้วยดอกไม้ ธูป เทียน ตะเกียง ขี้ไต้ สำหรับจุดให้สว่างไสว ก่อนจะปล่อย เรือไฟลงกลางลำน้ำโขง ปัจจุบันได้จัดทำเรือไฟรูปแบบต่างๆ โดยมีการนำเอาเทคโนโลยีสมัยใหม่ มาใช้ประกอบในการจัดทำ และประดับตกแต่งให้วิจิตรตระการตามากยิ่งขึ้น เมื่อปล่อยเรือไฟเหล่านี้ลงกลางลำน้ำโขงภายหลังการจุดไฟให้ลุกโชติช่วง แล้วจะเป็นภาพที่งดงามและติดตาตรึงใจตลอดไป ปัจจุบันรูปแบบของเรือไฟเปลี่ยนไปตามสภาพสังคม และเน้นความสวยงามมากขึ้น
             รูปทรงเรือไฟจะมีการทำที่แตกต่างกันออกไปตามความคิด ความเชื่อ ความรู้ ความสามารถ ของช่างในแต่ละกลุ่ม โดยมีรูปทรง ดังนี้ รูปเรือสุพรรณหงส์ รูปแม่ย่านาง รูปมังกร รูปพญานาค รูปพญาครุฑ รูปม้าเทียมราชรถ รูปสิงห์ รูปช้าง ฯลฯส่วนลำเรือจะมีขนาดใหญ่ขึ้น ยังมีการนำเอาเทคโนโลยีสมัยใหม่ มาใช้ประกอบในเรือไฟ เพื่อทำให้มีความน่าสนใจและสวยงามมากยิ่งขึ้น เช่น การนำพลุหลากสีสันมาจุด หรือพ่นไฟ และการประดับตกแต่งเรือไฟให้วิจิตรตระการตาด้วยไฟแสงสีต่าง ๆ ภายหลังการจุดไฟให้ลุกโชติช่วงแล้ว ก็ปล่อยเรือไฟเหล่านี้ลงกลางลำน้ำโขงเป็นขบวนยาว สุดแนวน่านน้ำเทศบาลเมืองนครพนม จะเป็นภาพที่ยิ่งใหญ่ งดงาม นอกจากนี้ยังมีกิจกรรมที่น่าสนใจอีกมากมาย

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น